logo kaidee premium

KHAIDEE PREMIUM.CO.,LTD.

Power Bank พาวเวอร์แบงค์

วิธีเลือกซื้อ Power Bank พาวเวอร์แบงค์ แบตเตอรี่สำรอง เลือกยังไง ยี้ห้อไหนดี

เลือกซื้อ Power Bank พาวเวอร์แบงค์ อุปกรณ์ไอทีแสนสะดวกสบายที่ใครๆก็มีติดตัวเอาไว้อย่างน้อยคนละ 1 เครื่องในยุคนี้ โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ หรือใช้โทรศัพท์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะใช้ทำงาน ขายของ หรือเล่นเกม ทุกคนน่าจะเคยเจอสถานการ์ที่เจ้ามือถือตัวดี แบตหมดขึ้นมาเอาดือๆ ระหว่างช่วงจังหวะสำคัญ คงทำให้เราต้องหัวร้อนกันไปตามๆกัน แล้วเราจะทำยังไงละ ก็ต้องหาที่ชาร์จอย่างไว และเจ้าปัญหาเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ดันหาปลั๊กเสียบชาร์จไม่ได้อีก เราอยู่นอกบ้านนี่หว่า แบตเตอรี่สำรองเลยเป็นตัวเลือกสำคัญที่เราจะต้องมีติดตัวกัน จะได้ใช้มือถือได้อย่างสบายใจไม่ต้องกลัวแบตหมดอีก แต่ความสะดวกสบายก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงบางอย่าง ที่อาจจะเกิดการสูญเสียทรัพย์สินไปจนถึงเสียชีวิตได้

Power Bank พาวเวอร์แบงค์

Power Bank พาวเวอร์แบงค์ หรือแบตเตอรี่สำรอง คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร

Power Bank พาวเวอร์แบงค์ คือพลังงานสำรอง หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อ แบตเตอรี่สำรอง นั้นเอง ซึ่งเกิดจากการนำแบตเตอรี่ที่มีการออกแบบความจุมากหลายๆ เท่า ห่อหุ้มด้วยวัสดุกันระเบิดอย่างแน่นหนาเพื่อให้สะดวกพกพาเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเมื่อแบตเตอรี่ หรือ พลังงานสำรองในอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แทบเล็ต กล้องดิจิตอล ฯลฯ หมดลง เราก็สามารถนำมาใช้งานชาร์จพลังงานได้เลย สะดวกสบาย ไม่ต้องหงุดหงิดกับแบตเตอรี่หมดอีกต่อไป เพราะ แบตเตอรี่สำรอง มีช่องจ่ายกระแสไฟฟ้าบ้านเข้าตัวแบตเตอรี่ เรียกว่า Input และ มีช่องจ่ายแทบเล็ต เรียกว่า Output อยู่ในตัวเดียวกัน

วิธีการ เลือกซื้อ Power Bank พาวเวอร์แบงค์ ที่ถูกต้อง ไม่ให้โดนหลอก

ก่อน เลือกซื้อ Powerbank พาวเวอร์แบงค์ แบตสำรอง เราควรจะรู้ว่า สมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ที่เราใช้อยู่มีความจุแบตเตอรี่เท่าไหร่เราเรียกหน่วยความจุนี้ว่า mAh (มิลลิแอมป์)

ตอนนี้หากใครจะเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลงบนมือถือ ก็อาจจะรู้สึกว่าแบตฯหมดไวจัง หลายๆคนก็แก้ปัญหาด้วยการซื้อ เพาเวอร์แบงค์ มาใช้ แต่ก็ใช่ว่าเพาเวอร์แบงค์ทุกยี่ห้อจะดีเหมือนกันหมด ยังไงเราก็ต้องเลือกหน่อย เพราะมือถือของเราก็ราคาแพงไม่เบา จะใช้ เพาเวอร์แบงค์ ราคาถูก ไม่มีมาตรฐานมาปล่อยไฟเข้ามือถือ เสียวมือถือจะระเบิดเอาได้  ดังนั้นเราควรจะเลือเพาเวอร์แบงค์ที่ดี มีมาตรฐาน และเหมาะกับมือถือของเรา แล้วมีวิธีการเลือกยังไง?

คำถามที่เราควรตั้งก่อนที่จะ เลือกซื้อ Power Bank มาใช้

มือถือของเราแบตฯหมดเร็วรึเปล่าถ้าแบตฯหมดเร็ว ต้องดูว่าเราชาร์จมือถือกับหัวชาร์จธรรมดาได้ไหม ถ้าเราต้องออกไปข้างนอกบ่อย ไม่มีเวลาในการชาร์จไฟแบบธรรมดา หรือจำเป็นที่จะต้องออกไปพื้นที่ห่างไกลบ่อยๆ ก็ควรหาซื้อ Power Bank มาใช้

mAh ย่อมาจาก m = milli (มิลล์)
A = mp (แอมป์)
h = hour (ชั่วโมง)

หมายความว่า สมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ที่เราใช้ อยู่นั้น ใช้กี่ mAh ต่อการชาร์จเต็ม 100% 1ครั้ง

สำหรับสมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ที่ใช้กันในปัจจุบันจะมีแบตเตอรี่ความจุประมาณเท่าไร เช่น

I-Phone 5s ความจุประมาณ 1570 mAh
I-Phone 5c ความจุประมาณ 1507 mAh
I-Phone 5 ความจุประมาณ 1440 mAh
I-Phone 4s ความจุประมาณ 1430 mAh
I-Phone mini ความจุประมาณ 4490 mAh
The new I-pad ความจุประมาณ 11560 mAh

Sumsung Galaxy S4 ความจุประมาณ 2600 mAh
Sumsung Galaxy S3 ความจุประมาณ 2100 mAh
Sumsung Galaxy Note3 ความจุประมาณ 3200 mAh
Sumsung Galaxy Note2 ความจุประมาณ 2600 mAh

Nokia Lumia 920 ความจุประมาณ 2000 mAh
Nokai Lumai 620 ความจุประมาณ 1330 mAh
Nokai Lumai 520 ความจุประมาณ 1430 mAh

Sony xperia C ความจุประมาณ 2390 mAh

Blackberry ความจุประมาณ 1100 mAh

Huawei Cheetha ความจุประมาณ 1700 mAh

เลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์แบตเตอรี่สำรอง ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักแบตเตอรี่ที่นำมาทำเพาเวอร์แบงค์ เสียก่อน ส่วนใหญ่แบตเตอรี่ที่นิยมมาทำ พาวเวอร์แบงค์ แบตสำรอง มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน

แบตเตอรี่ แบบ ลิเทียมโพลิเมอร์ (Lithium-Polymer)

แบตเตอรี่ แบบ ลิเทียมโพลิเมอร์ (Lithium-Polymer)

คุณสมบัติของแบตเตอรี่ชนิด ลิเธี่ยม-โพลิเมอร์ (Lithium-Polymer)

  • แบตสามารถทำตามรูปร่างที่ต้องการได้
  • เก็บประจุไฟนาน 1ปี โดยคลายประจุน้อยมาก
  • ของเหลวด้านในเจล ไม่ติดไฟ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงเรื่องระเบิด
  • พร้อมใช้งาน แกะออกจากกล่องแล้วใช้ได้ทันที
  • จะใช้จนพลังงานหมดเกลี้ยงก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่เสื่อมเร็ว
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

ข้อเสีย

มีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่ ลิเธียมไออน (Lithium-Ion)

แบตเตอร์รี่แบบ ลิเธียมไออน Lithum-Ion 18650

18650 สำหรับเราๆท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกับคำว่า “18650” หมายถึงแบตเตอรี่ลิเธียมไออน (lithum ion battery) ขนาดในทาง ทฤษฏีแบตเตอรี่ควรวัด 18mm x 65 mm และเป็นทรงกระบอก (ผมเชื่อว่า “0” ในตอนท้ายของ “18650” คือ การอ้างอิงถึงรูปร่าง) 18650 แบตเตอรี่โดยทั่วไปมักพบภายในแล็ปท็อป โน๊ตบุ๊คและไฟฉายเดินป่า

แบตเตอร์รี่แบบ ลิเธียมไออน Lithum-Ion 18650

คุณสมบัติของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium-Ion)

  • เริ่มคลายประจุหลังการชาร์จ ภายในไม่กี่สัปดาห์
  • ของเหลวด้านในเป็นเคมี มีความปลอดภัยน้อยกว่าชนิด Polymer
  • ประจุไฟที่มีอยู่ หากเปิดกล่องใช้งานครั้งแรกมีน้อยกว่าแบบ Polymer
  • ไม่ควรใช้จนพลังงานหมดเกลี่ยง เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว
  • มีน้ำหนักมากกว่าแบบ Polymer

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับพาวเวอร์แบงค์

เคยสงสัยไหมว่าทำไมPower Bank พาวเวอร์แบงค์ ความจุ 2600 mAh ถึงชาร์จ I-Pone 4s ได้ครั้งเดียว (ถ้าคำนวณแล้วน่าจะชาร์จได้ 2 ครั้งใช่หรือไม่ ?) แต่ในความเป็นจริง พาวเวอร์แบงค์ Power Bank จะศูนย์เสียพลังงานจากการ Input คือ การชาร์จไฟบ้านเข้า Power Bank และ Output คือการชาร์จจาก พาวเวอร์แบงค์ เข้าสมาร์ทโฟน/แทบเล็ตนั้นเอง

สิ่งที่ควรทราบอีกอย่างคือ

แบตเตอรี่ที่อยู่ในพาวเวอร์แบงค์มีแรงดัน 3.7 Volt และ แบตเตอรี่ในสมาร์ทโฟน มีแรงดัน 5 Volt การที่ต้องดึงแรงดันจากตัว พาวเวอร์แบงค์ Power Bank ให้เป็น 5 Volt เท่ากับว่ามีการปรับระดับขึ้นมาทำให้ความจุที่ตัว พาวเวอร์แบงค์ จะลดลง ดังนั้นความจุของ แบตเตอรี่สำรอง  จะไม่ใช่ 2600 mAh

เนื่องจากPower Bank จะเหลือกระแสไฟที่ใช้ได้จริงประมาณ 60 % (แต่ความจริงควรจะได้ 70-75% ถ้าได้ 60% ก็ถือว่าแย่แล้ว) ดังนั้น ความจุ 2600 mAh จะเหลือพลังที่ใช้ได้จริงประมาณ 1500 mAh ทำให้ชาร์จ I-Pone 4s ได้ 1 ครั้ง เท่านั้น ปัจจัยอีกอย่างก็คืออากาศร้อนในบ้านเราด้วยที่ทำให้พลังงานลดลง

ทางทฏษดี วิธีคำนวณ: ถ้าเราอยากทราบว่าพาวเวอร์แบงค์ สามารถชาร์จเข้าไปในสมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ในปริมาณพลังงานที่ใช้ได้จริงเท่าไร สามารถคำนวณได้ดังนี้

>>เลขความจุกี่ mAh x 60% = ความจุจริง mAh
ตัวอย่าง: Power Bank ความจุ 5000 mAh สามารถชาร์จ Huawei รุ่น Cheetha ความจุ 1700 mAh ได้ความจุแบตเตอรี่ที่ใช้ได้จริงเท่าไรและชาร์จได้กี่ครั้ง
>> 5000 mAh x 60% = 3000 mAh (ได้ความจุจริงประมาณ 3000 mAh)
นำ 3000 mAh หาร 1700 mAh = 1.76 ครั้ง (สามารถชาร์จ Cheetha ได้ประมาณ 1.76 ครั้ง)

ดังนั้นในการเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์แบตเตอรี่สำรอง ให้เหมาะกับความจุสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ของเรา เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามตัวอย่าง ต้องซื้อ Power Bank ขนาด 6000 mAh ขึ้นไปเพื่อให้สามารถชาร์จได้ 2 รอบเต็ม

***ความเป็นจริงถ้าซื้อPower Bank มาแล้ว มีอยู่แล้ว ลองคำนวณดูแล้วเทสเลย ถ้าคุณได้ต่ำกว่า 65% ผมถือว่า พาวเวอร์แบงค์ รุ่นนั้นแบนด์นั้น ไม่ได้มาตรฐาน

อัตราการคายประจุของ แบตเตอรี่สำรอง

อัตราการคายประจุสำคัญมาก เพราะแบตเตอรี่สำรอง เมื่อได้รับการชาร์จไฟบ้านเข้าจนเต็มตัวมันเองแล้วเราก็จะถอดปลั๊ก แล้วก็พกมันเพื่อเดินทางไปกับเราระหว่างวัน ทันทีที่หยุดชาร์จไฟ เพาเวอร์แบงค์จะเริ่มคายพลังงานประจุไฟฟ้าที่เก็บไว้ ทิ้งออกไปเรื่อยๆ (สลายตัวมมันเอง) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ เพาเวอร์แบงค์ อยู่แล้ว ถ้าเลือกแบรนด์ต่ำๆ คุณภาพไม่ดีอัตราการคายประจุจะเร็วมากๆ มากจนมันคายหมดไปเลย (**ลองอ่านด้านบน รู้จักแบตเตอรี่ที่นำมาทำ Power Bank เสียก่อน)

อัตราการรับไฟบ้านเข้าเครื่อง

เราสามารถพิจารณาข้อมูล Input-Output ได้ข้างกล่องหรือที่ตัว พาวเวอร์แบงค์ เช่น

พาวเวอร์แบงค์ Power Bank

Input : DC 5V – 2.1 A (max) หมายความว่า ตอนชาร์จไฟบ้านเข้าตัว Power Bank กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปเก็บสูงสุดต่อหน่วยเวลา คือ 2.1 แอมป์ (ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เร็วมากและปลอดภัยสำหรับแบตเตอรี่สำรอง) ดังนั้น ถ้าพิมพ์ว่า 1.0A (max) ก็แสดงว่า ชาร์จไฟบ้านเข้าตัว

พาวเวอร์แบงค์นานมาก ยิ่งความจุ 12,000 mAh อาจนานถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว ส่วนใหญ่ที่พบคือ 1.0A
Output : DC 5V-2.1 A หมายความว่า ตอนชาร์จมือถือ/แทบเล็ตเข้ากับตัว Power Bank แล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสูงสุดต่อหน่วยเวลา คือ 2.1 แอมป์ (ยิ่งมาก ยิ่งดี 2.1 A ถือว่าเร็วมากๆ ซึ่งปกติในท้องตลาดจะมี 1.0 A กับ 2.1 A)

การตรวจสอบค่า Input-Output

>>ค่า Input : ในการบอกค่าของมิลลิแอมป์ มีทั้งแบบแสดงเป็นแอมป์ หรือ มิลลิแอมป์ เอา 1000 คูณค่าแอป์ลงไปก็จะได้ค่ามิลลิแอมป์ 0.5A = 500 mAh
1A = 1000 mAh
Input คือ ไฟที่เข้าไปยังPower Bank จะมีขนาดเท่าไหร่ วัดเป็นมิลลิแอมป์ต่อ ชม. เช่น Input : 1A คือไฟจะเข้าไปยังพาวเวอร์แบงค์ ที่ 1 แอมป์ (1000 มิลลิแอมป์ mAh) ต่อการชาร์จ 1 ชม. หาก Input น้อย เช่น 0.5A (500 มิลลิแอมป์ mAh) ต่อ ชม. ก็จะทำให้การชาร์จเข้าไปยัง เพาเวอร์แบงค์ ของเรา นานกว่าปกตินั่นเอง หากชอบชาร์จเก็บไฟเร็วทันใจควรเลือก Input ที่มากกว่า หรือ เท่ากับ 1A (1000 mAh) ขึ้นไป

ตัวอย่าง : ถ้าพาวเวอร์แบงค์ ของคุณ มีความจุที่ 5000 mAh แล้วมี Input ที่ 1A คุณจะใช้เวลา 5 ชม. ชาร์จไฟเก็บไว้จนมันเต็ม

**ในความเป็นจริง จากการเทสของผมไฟที่จ่ายเข้า Power Bank ก็ไม่เต็ม 1.0A แน่นอนจากการเทสของ หลายยี่ห้อ ได้ประมาณเฉลี่ยแล้วประมาณ 0.60-0.85 A หรือ ประมาณ 800 mAh ต่อชั่วโมง ผมใช้ อแดปเตอร์ไอโฟน 4 ที่จ่ายไฟสูงสุด 1.0A ถ้า Power Bank ของคุณ 5000 mAh ก็คือ 5000 หารด้วย 800 = 6.25 ชม.

แล้วพวก Power Bank ที่บอก 30,000 mAh ตามเว็บดีลต่างๆที่ผมเห็นจะชาร์จนานกี่ ชม. ละ

ถ้าชาร์จเร็วกว่าที่ผมคำนวณละก็ คุณโดนหลอกอีกแล้ว !!!

> ค่า Output : คือ ความจุของไฟที่จะชาร์จเข้าไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฟน/แทบเล็ตของคุณ อันนี้สำคัญกว่าค่า Input ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะว่า สมาร์ทโฟน/แทบเล็ตของคุณต้องการ Input ที่เหมาะสมในการชาร์จไฟเข้าไป มันจะบอกทั้งเวลาในการชาร์จเพื่อให้ แบตเตอรี่สมาร์ทโฟน/แทบเล็ตคุณเต็ม

Output ของ Power Bank แต่ละรุ่น มีตั้งแต่ 0.5A ไปจนถึง 2.1A โดยสังเกตุที่ด้านหลังของ พาวเวอร์แบงค์แบตเตอรี่สำรอง หรือ คู่มือคุณก็จะทราบว่า Output โดยแสดงเป็นตัวเลข A หรือ mAh ก็ให้เอา 1000 คูณค่า A เข้าไปจะได้ mAh ต่อชม. ถ้าเป็น สมาร์ทโฟนจอขนาด 3-5 นิ้ว แบตเตอรี่จะรองรับที่ 0.5-2A ซึ่งไม่เป็นปัญหาในการเลือก พาวเวอร์แบงค์ เพราะจะใช้ได้หมดเกือบทุกยี่ห้อ แต่ถ้าเป็นแทบเล็ต ที่มีขนาดใหญ่กว่า 7 นิ้ว บางรุ่นจะใช้ 1A หรือ มากกว่าในการชาร์จ ทำให้บางครั้งคุณจึงไม่สามารถชาร์จ แทบเล็ต

โดย เพาเวอร์แบงค์ ที่มี Output ต่ำกว่า 1A หรือ 1000 mAh ได้ หรือ อาจจะชาร์จได้ ก็ไม่เป็นผลดีต่อ แทบเล็ต ของคุณเพราะว่า 500 mAh แปลว่าคุณจะต้องชาร์จมันมากกว่า 10 ชม. กว่าแทบเล็ต ของคุณจะเต็ม (กรณีแทบเล็ตใช้แบตเตอรี่ที่ 5000 mAh ขึ้นไป ) และความร้อนจากการชาร์จที่นานเกินไป จะไปลดอายุการใช้งาน แบตเตอรี่ในแทบเล็ตของคุณ

พาวเวอร์แบงค์ Power Bank
ชาร์จเข้า ipone 4 output 1.0A ได้ประมาณ 0.79

ทางทฏษดี : ระยะเวลาในการชาร์จ คำนวณจากความจุแบตเตอรี่ ของคุณ หารด้วย Output ของ พาวเวอร์แบงค์ เช่น I-Phone 5 มีความจุแบตเตอรี่ 1440 mAh ส่วน พาวเวอร์แบงค์ คุณมี Output ที่ 500 mAh คุณจะใช้เวลาชาร์จทั้งสิ้น 1440/500= 2.88+ชม. ถึงจะเต็ม โดยเครื่องคุณจะต้องไม่เปิดใช้งาน Internet / 3G ขณะกำลังชาร์จ ไม่เช่นนั้นระยะเวลาอาจจะมากกว่า 2.88+ ชม.

**ในความเป็นจริงจากการเทสและทดสอบจาก เพาเวอร์แบงค์ หลายแบนด์ ที่ Output 1.0 A จะได้เฉลี่ยประมาณ 0.5-0.9 สามารถชาร์จ พวกสมาร์โฟน I-Pone4, 4S, 5S, 5C, Samsung S1, S2, S3 แล้วเล่นเกมไปด้วย แบตยังเพิ่มได้จนเต็ม 100% แต่เป็นตระกูล Note2, 3, S4 จะเอาไม่ค่อยอยู่ ยิ่ง Ipad Tablet นี่ยากยิ่งกว่า ถ้า Note2, 3, S4, Ipad, Tablet แนะนำให้หาออก 2.1A จากการเทสจะได้ ประมาณเฉลี่ย 1.3-1.5 A แต่เทส แบตเตอรี่สำรอง บางแบนด์บอก Output ออก 2.1A เอาเข้าจริง ออกไม่ถึง 1.0A ด้วยซ้ำ โดนหลอกอีกตามเคย T-T

เรื่องราคา

พาวเวอร์แบงค์ มีตั้งแต่ 100-3,000บาท แล้วแต่ความจุ ดีไซน์ วัสดุกรอบนอก คุณภาพของแบต แบนด์สินค้า และ ระยะเวลาการรับประกัน แล้วยังมีปัจจัยเรื่องสินค้าเรียนแบบอีก ส่วนใหญ่แบตสำรองบ้านเราของส่วนใหญ่มากจาก เซิ้นเจิ้น ประเทศ จีน และบอก ฮ่องกง ก็คือจีนอยู่ดี

บทสรุป

ข้อคิดในการ เลือกซื้อ Power Bank พาวเวอร์แบงค์ แล้วกัน ถ้าให้เลือกก็คงเลือกที่ประกันยาวนานเกิน 6เดือน ขึ้นไป หาที่เคลมง่ายๆ ผู้ขายให้ข้อมูลถูกต้อง หรือผ่านมาตรฐาน MFI (ราคาเอาเรื่องอยู่) แต่ มอก. บ้านเราก็เชื่อไม่ค่อยได้เคยเห็นรีวิวอยู่เจ้าหนึ่งผ่าน มอก. แต่หลอก มิลลิแอมป์ บอก 5200 mAh แต่แงะออกมาดูแบบเจอ 2000 mAh 2ก้อน แล้วความจุเกิน 15,000-30,000 mAhส่วนใหญ่หลอกมิลลิแอมป์ แต่บางแบรนด์ออก 20400 มาแล้ว ส่วนใหญ่แบตผู้ผลิตจะใช้ขนาด 2000-2600 mAh เป็นส่วนใหญ่ ถ้าใช้แบตขนาด 3000 mAh ราคาค่อนข้างจะสูงทำให้ต้นทุนขึ้นจึงไม่เลือกใช้กัน

www.kaideepremium.com